QT – Quantitative Tightening จะถูกใช้เมื่อเกิดสภาวะฟองสบู่ของเงินในระบบ จะใช้เพื่อดูดเงินกลับจากระบบผ่าน นโยบายทางการเงิน ถ้าจะให้เปรียบเทียบ อยากให้นึกภาพของการทำ QE ที่เราคุ้นเคย
QE – การฉีดเงินเข้าระบบโดยการที่ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ต่างๆ อย่างเช่น ตราสารของรัฐ หรือ เอกชนก็ตาม ทำให้ภาครัฐและเอกชน มีกระแสเงินสดมากขึ้น ก็จะนำเงินนั้นๆไปลงทุนในสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะลงทุนในธุรกิจ โครงการภาครัฐ หรือลงทุนเข้าสินทรัพย์อื่นๆ จะเห็นได้ว่า เมื่อมีการทำ QE ตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้นแทบจะทุกส่วน ตลาดหุ้น ราคาทอง ต่างก็ได้รับอนิสงค์จากสิ่งนี้
เมื่อขึ้นทุกอย่างมีการอัดฉีดเข้าถึงจุดอิ่มตัว การดูดกลับสภาพคล่องจึงมีความจำเป็น ธนาคารกลางจะมีการลดงบดุลที่มีการขยายตัวในช่วงที่มีการทำ QE สินทรัพย์ที่ถือ มาในช่วงนั้นๆ จะถูกขายออก หรือปล่อยให้หมดอายุสัญญาไป ตารสารหนี้ที่หมดอายุ เป็นเหมือนกับเงินกู้ที่ครบสัญญา ผู้ที่รับเงินไปใช้ในช่วงนั้นๆ จะต้องนำมาคืน สิ่งที่กระทบตามมาคือ การชะลอตัวของธุรกิจ การขยายโครงการทางภาครัฐจะหดตัวลง ในภาคส่วนของเอกชน จะต้องขายสินทรัพย์ที่เข้าซื้อก่อนหน้านี้ เพื่อที่จะนำเงินมาชำระเงินกู้ จะเห็นได้ว่า เมื่อมีการทำ QT จะส่งผลให้สินทรัพย์ต่างๆปรับตัวลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
มาดูในมุมมองที่กระทบกับราคาทองคำ คงต้องบอกว่า เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เมื่อเม็ดเงินหายไปจากตลาดจะเป็นสิ่งที่ดี ทองคำก็คงได้รับผลกระทบเฉกเช่นเดียวกัน
Gcap Gold ผู้เชี่ยวชาญด้านการซื้อขายทองคำแท่งของประเทศไทย
02-6110500
www.gcap.co.th